วิธีแก้อาการเหนื่อยง่าย ฟื้นฟูร่างกายให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
หลายคนคงประสบกับปัญหาร่างกายอ่อนล้า ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา รู้สึกตื่นมาแล้วไม่มีแรงทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าวัยไหนหรือเพศไหนก็สามารถมีอาการอ่อนเพลียแบบนี้ได้หมด ก่อนที่อาการของคุณจะเป็นหนักถึงขั้นเรื้อรัง มาทำความรู้จักกับโรค สาเหตุการเกิด และวิธีแก้อาการเหนื่อยง่าย เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากโรคนี้ที่อาจตามมาภายหลังได้
สังเกตุอาการเหนื่อยง่ายมีอะไรบ้าง?
หากคุณรู้แล้วว่าตัวเองมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าแต่ก่อนแล้วนั้น ลองมาสังเกตอาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการนี้กันดู เพื่อเช็กว่าตัวเองเข้าข่ายควรได้รับการรักษาแล้วหรือยัง?
อาการที่ยังไม่ต้องถึงขั้นเข้ารับการรักษา
- อ่อนเพลีย ง่วงนอนเป็นช่วงๆ เวลา แต่ยังรู้สึกตัวได้ตลอด
- เครียดเป็นบางช่วง
- ชอบอยู่นิ่งๆ ไม่ค่อยขยับร่างกาย
- ทานอาหารน้อยลง แต่ทานได้ตามปกติ
อาการที่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการบำบัด
- เครียดอยู่ตลอดเวลา รู้สึกดิ่ง ซึมเศร้า หรือกังวลใจ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายขึ้น
- ไม่มีสมาธิจดจ่อกับอะไรนานๆ ขี้หลงขี้ลืม
- ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทันทีเลยไม่ได้
- คิดมาก ฟุ้งซ่าน ได้ยินเสียงแว่ว เกิดภาพหลอน
- ปลีกวิเวก ไม่ออกไปเจอผู้คน
- นอนไม่หลับหรือนอนนานกว่าปกติ
- ไม่อยากทานอาหาร หรือทานมากขึ้นกว่าเดิมเท่าตัว
อาการที่ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
- หายใจติดขัด หายใจได้ไม่เต็มที่ มีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีเมือกใสในโพรงจมูก
- น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- มีเหงื่อออกตอนนอนในอุณหภูมิห้องปกติ
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือมีอาการหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
- รู้สึกจะเป็นลมได้ตลอดเวลา
- อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก
- มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น รู้สึกอยากฆ่าตัวร้ายหรือทำร้ายตัวเองและผู้อื่น
ในปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบไปถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของครอบครัวคุณได้ หรือปัญหาเรื่องบนเตียง เช่น การเกิดภาวะฮอร์โมนทางเพศลดลง จนทำให้คนรักของคุณน้อยใจเรื่องแฟนไม่ทําการบ้าน เนื่องจากไม่มีแรงหรืออารมณ์ในการทำกิจกรรมได้ ปัญหาเล็กน้อยพวกนี้ทำให้หลายคู่ต้องเลิกรากันไป
วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายในเพศชาย โดยจะเป็นวิธีการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายมีอะไรบ้าง อ่านบทความนี้ได้เลย !
อาการเหนื่อยง่าย สาเหตุเกิดจากอะไร?
รู้สาเหตุการเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ไม่มีแรง เพื่อหาวิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายได้อย่างรวดเร็วที่สุด มีดังนี้
เกิดจากโรคหรือภาวะความเจ็บป่วย
- โรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจาง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง โรคลมหลับ เป็นต้น ในหมู่ผู้ชายอาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้อีกด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่า นกเขาไม่ขัน (ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว)
- โรคด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด เป็นต้น
- เกิดจากภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะขาดไทรอยด์หรือไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะการขาดธาตุเหล็ก ภาวะฮอร์โมนแปรปรวน เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไวรัสตับอักเสบ โรคหวัด โรคเอดส์ เป็นต้น
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือปัจจัยอื่น ๆ
- ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน
- ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
- พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยหรือนอนดึก
- การทานเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์
- มีการใช้ยารักษาโรคบางประเภทร่วมด้วย เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยารักษาอาการซึมเศร้า และยากล่อมประสาท
- ปัญหาในชีวิตรุมเร้า
- อายุที่มากขึ้น
เมื่อแพทย์วินิจฉัยอาการเสร็จแล้วเรียบร้อย ก็จะมีการหาวิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายต่อไป
การวินิจฉัยอาการเหนื่อยง่าย
การวินิจฉัยอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติอาการ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การดูแลหรือหาวิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายด้วยตัวเองแบบคร่าวๆ เพื่อดูว่าควรมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมไหม โดยจะเป็นการตรวจแบบละเอียดเริ่มตั้งแต่
- การตรวจร่างกาย จะมีตรวจต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ตรวจดวงตา ข้อต่อ ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงฟังเสียงหน้าอกและช่องท้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ
- การตรวจเลือด เพื่อหาโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะการขาดแร่ธาตุและวิตามินบางชนิด ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ การทำงานของตับหรือไตปกติดีไหม ภาวะติดเชื้อบางอย่าง เช่น เชื้อไข้หวัด เป็นต้น
- การตรวจอื่น ๆ อย่างเช่น การ x-ray ทรวงอก การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เป็นต้น
วิธีการรักษาอาการเหนื่อยง่าย
วิธีการรักษาเพื่อแก้อาการเหนื่อยง่าย ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียแบบตรงจุด เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป โดยมีดังนี้
วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายโดยการพบแพทย์
วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายหลังการวินิจฉัย หากผลที่ได้ออกมามีสาเหตุเกิดมาจากโรค หรือภาวะความเจ็บป่วย แพทย์จะสั่งจ่ายให้คนไข้รับประทาน ซึ่งเป็นวิธีแก้อาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนที่ง่ายที่สุดแล้ว
หากพบว่ามีอาการเหนื่อยง่ายจากการรับประทานยารักษาโรคบางประเภท วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายคือ แพทย์จะมีการปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากขึ้น
หากพบว่าเหนื่อยง่ายจากภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ภาวะวิตกกังวล วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายคือ การเข้ารับบำบัดทางจิตเวช เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด การให้คำแนะนำหรือปรึกษาปัญหาชีวิต เป็นต้น
หากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะเหนื่อยเรื้อรัง วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายสะสมมานานนั้น คนไข้จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป เพื่อให้อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ดีขึ้นตามลำดับ
วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายด้วยตนเอง
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาทีอย่างน้อย
- รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงมีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และอาหารที่ให้กากใยอาหารสูงหรือสมุนไพร เช่น เห็ดหลินจือ กระชายดํา โสม เป็นต้น
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
- เข้านอนเร็วขึ้น หรือนอนหลับให้เพียงพอประมาณ 6-8 ชั่วโมง/วัน
- หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำคลายเคลียด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และยาเสพติดทุกชนิด
- ทานวิตามินหรืออาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
** ในกลุ่มคุณผู้ชายวิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายอย่างเช่นการเลือกใช้ยาอึด ยาทน หรือไวอากร้า ในการทำกิจกรรมบางอย่างอาจต้องเลือกดูยี่ห้อและมาตรฐานการรับรองให้ดี เพราะมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจจะตามมาทีหลัง หากใครที่กลัวการทานยา ก็ยังมีวิธีเพิ่มสมรรถภาพเพศชายแบบธรรมชาติให้ทำตามได้อย่างปลอดภัย
อ่านเพิ่มเติม ไวอากร้า ยี่ห้อไหนดีที่สุด
สรุปวิธีแก้อาการเหนื่อยง่าย ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้
วิธีแก้อาการเหนื่อยง่ายนั้น นอกจากการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาต่อไปแล้วนั้น อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายวิธีแก้ภาวะนี้ยังสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ โดยที่คุณสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้ วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนด้วยตัวเอง เป็นการทำเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ่อนเพลียเรื้อรังหรือโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาทีหลังได้
References:
Team Calm. (2023, September 1). How to stop feeling tired: 10 anti-fatigue tips. https://www.calm.com/blog/how-to-stop-feeling-tired
Kristeen Cherney, PhD. (2021, August 9). 15 Ways to Combat Tiredness. https://www.healthline.com/health/how-to-stop-feeling-tired
ติดต่อซื้อสินค้า Code For Men ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้